ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ: อ่านประวัติศาสตร์โลก อ่านอนาคตสังคมไทย

เมื่อวันที่เสาร์ที่ 17 ธ.ค. 2565 ที่ภาควิชาประวัติศาสตร์สังคมไทยในยุคปัจจุบัน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ แผนงานคนไทย 4.0 จัดบรรยายพิเศษหัวข้อ “อ่านประวัติศาสตร์โลก อ่านอนาคตสังคมไทย” วิทยากร โดยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ โดยมีรายละเอียดของการบรรยายดังนี้

มรดกทางความคิดในสังคมไทย

มรดกทางความคิดในสังคมไทยที่ตกทอดจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ประเด็นหลักคือการชี้ให้เห็นถึงความคิดและมโนทัศน์การปฏิรูปแสดงออกอย่างไรในทางนโยบายของรัฐบาลสมัยต่างๆ ในทางความคิดและอุดมการณ์วางอยู่บนคติความรับรู้อะไร มีปรัชญา โลกทัศน์อะไรที่รองรับความคิดการปฏิรูปในแต่ละยุคสมัย ในที่สุด ความคิดการปฏิรูปมีลักษณะแตกต่างปัญหาของสังคมไทย หรือเหมือนกันในทางประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุผลอะไร

โดยประเด็นที่หาคำตอบก็คือ การค้นหาความหมายของการ “ปฏิรูป”สังคมไทยในปัจจุบัน 2565 ซึ่งมีความหมายได้เท่ากับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การอธิบายมโนทัศน์ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นการศึกษาค้นคว้าแบบประวัติศาสตร์ความคิด เพื่ออธิบายบริบทของสังคม เศรษฐกิจการเมืองในแต่ละยุคสมัย อย่างไรก็ตาม ไม่ได้อธิบายตามลำดับตามเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ แต่กลับมุ่งเน้นไปตามมโนทัศน์ที่ชนชั้นนำใช้เป็นเครื่องมือ ในการผลักดันซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยเป็นวงกว้าง

สังคมประเทศไทย

 

สังคมไทยในยุคปัจจุบัน

กล่าวได้ว่านับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา มีการประยุกต์ความรู้ความคิดจากบริบทของต่างชาติมาหลากหลายมิติ ซึ่งเป็นตัวบังคับให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงในช่วงต้นนี้ก็มิใช่ความเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน และเข้าแทนกันได้ แต่เกิดจากการผสมกลมกลืนกับความรู้กับต่างชาติ จนเห็นความอีหลักอิเหลื่ออยู่มากมายสังคมไทย pdf เหตุการณ์ที่เห็นได้ชัดคือสมัยปลายรัชกาลที่ 4 ที่พระองค์เสด็จไปเยือนบ้านหว้ากอ ประจวบคีรีขันธุ์ เพื่อไปสังเกตสุริยุปราคา กรณีนี้ราวกับว่าเป็นจิตวิทยาทางการเมือง เพื่อพิสูจน์ว่าสยามทัดเทียมกับตะวันตก ในแง่ของความรู้นั้น เป็นการเชื่อมประสานกันระหว่างดาราศาสตร์แบบตะวันตกกับโหราศาสตร์แบบไทย ความกำกวมของเหตุการณ์และญาณวิทยาลูกผสมสังคมไทยในปัจจุบัน 2564 เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญในแง่ของการเปลี่ยนเคลื่อนทางความรู้ โหรจึงเป็น “นักวิทยาศาสตร์” ที่ทรงอิทธิพลในทุกระดับของสังคมตั้งแต่ราชสำนักจนถึงหมู่บ้าน เพราะพวกเขามีความรู้ในการคำนวณทิศทางที่เกิดขึ้นได้ในอนาคต

ความรู้ 2 ชนิดที่ดูเหมือนจะเข้ากัน ไม่ได้ประสานกันจนเป็นเนื้อเดียวกันเสียทีเดียว ความรู้ทั้ง 2 ชนิดไม่เพียงแต่ศึกษาเรื่องคล้ายกัน แต่ทั้งคู่ยังใช้คำศัพท์เหมือนๆ กันในระบบการแบ่งหมวดหมู่ที่เทียบเคียงกันได้ เพราะฉะนั้น การที่สยามตกอยู่ในภาวะที่ขัดกันระหว่างความรู้ของที่สืบทอกดมาแต่โบราณ กับความคิดสมัยใหม่แบบตะวันตก ความอิหลักอิเหลื่อนี้ทำให้สยามสามารถท้าทายต่อการเลือกรับความรู้ตะวันตกแบบสมัยใหม่กับคงความคิดที่มีอยู่แต่เดิมไว้ได้

มโนทัศน์การปฏิรูปและความทันสมัยสยามประเทศ

มโนทัศน์การปฏิรูปและความทันสมัยในช่วงแรกเน้นความคิดที่ว่าด้วยความเป็นเอกราช เคียงคู่ไปกับความทันสมัย ปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การขยายตัวของเจ้าอาณานิคมตะวันตก ทำให้สยามต้องยอมจำนนและต้องการทำการปฏิรูป ในอีกทางหนึ่ง แรงผลักดันของการล่าอาณานิคม มาจากพลังการผลิตของระบบทุนนิยมโลก ที่ต้องการผลิตสินค้าจำนวนมาก และต้องทำการผลิตจำนวนมหาศาล ดังนั้น ชนชั้นนำจึงให้ความสนใจในต่อการปฏิรูปทางความคิด ความเชื่อและจิตใจของผู้คนปัญหาของสังคมไทย ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่สยามจำเป็นต้องทำ โดยเราจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงในโลกโบราณ ดังจะเห็นได้จากการสร้างอุดมการณ์ชาติไทย อันเป็นมโนทัศน์จากการค้นคว้าแบบสมัยใหม่ รองรับด้วยหลักฐานทางโบราณคดีและเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร เกิดเป็นประวัติศาสตร์ชาติในรูปแบบที่เป็นชุมชนรูปแบบพิเศษ

การพยายามสร้างและทำให้รัฐสยาม รวมไปถึงผู้คนทั้งหลายมีฐานะและภาพลักษณ์อันสอดคล้องกับโลกตะวันตก เมื่อรัชกาลที่ 5 เริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอาณาจักรให้มีความทันสมัย ในทางการเมือง เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษแล้วกลับมารับราชการในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการแปลรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสออกมาเป็นภาษาไทย และแปลรัฐธรรมนูญแบบอื่นๆ อีก เพื่อแสดงให้ชนชั้นนำยุโรปได้รับรู้ หลักการใหญ่ประการที่สำคัญคือการจำกัดอำนาจผู้ปกครอง สิ่งนี้ส่งผลกระเทือนสำหรับเหล่าชนชั้นนำเป็นอย่างมาก ชนชั้นนำจารีตไทยยืนยันหลักการโบราณอย่างไม่เปลี่ยนแปลง ถึงที่มาของอำนาจพระมหากษัตริย์มิอาจระบุในกฎหมายได้ เพราะว่าไม่มีอะไรมาบังคับได้ ผลกระเทือนที่ตามมาก็คือ เมื่อผู้นำรัฐสูงสุดไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายใดๆสังคมไทยในปัจจบัน 2565 บรรดาเจ้าหน้าที่และข้าราชการในระบบย่อมมิอาจถูกบังคับด้วยกฎหมายได้เช่นกันมโนทัศนชนชั้นสยามได้ก่อตั่งขึ้นตามระเบียบโลกที่เป็นระบบทุนนิยม ลักษณะเด่นของการปฏิรูปในยุคแรกคือการสร้างเงื่อนไขให้แก่การขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีการค้า และการแลกเปลี่ยนเป็นธงนำ ในขณะที่การผลิตแบบใหม่ยังเป็นด้านรอง เพราะต้องพึ่งพาจากนายทุนเป็นสำคัญ

อีกมโนทัศน์หนึ่งที่ส่งผลต่อผู้คนที่สำคัญคือมโนทัศน์ที่ว่าด้วยคนกับสังคม เหล่าชนชั้นนำตระหนักเป็นอย่างดี เห็นได้จากความคิดของรัชกาลที่ 5 ได้มองราษฎรเปลี่ยนไปจากเดิม จากการเป็นคนที่ไม่สมบูรณ์ เพราะไม่มีอิสระจากคนทั่วไป คือเป็นข้า ทาส ไพร่ ที่ไม่มีจุดมุ่งหมายเป็นของตัวเอง บัดนี้เป็นภาวะของตนเองและมีจุดหมายที่คนอื่นอาจรับรู้ได้ เพราะเป็นคนเหมือนกัน ทำให้ทัศนะใหม่ต่อราษฎร ต้องให้ความเจริญ ความสุข และเป็นธรรม การก่อรูปของมโนทัศน์เหล่านี้ ชนชั้นนำได้ก่อรูปขึ้นมาท่ามกลางวิกฤติ และความขัดแย้งภายในกลุ่มชนชั้นเอง ท่ามกลางการก่อรูปของรัฐสมัยใหม่ จึงมีการปะทะประสานการต่อสู้ทางการเมืองของเหล่าชนชั้นนำในการรักษาฐานะและความเป็นเจ้าของพวกตนไว้ ภายใต้บริบทของการคุกคามและท้าทายต่อลัทธิอาณานิคมและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ที่สามารถสร้างความรู้และทฤษฎีของตนขึ้นมา บนความขัดแย้งและความแตกต่างหลากหลาย จนลงตัวและสร้างรัฐไทยแบบใหม่ขึ้นมาได้ ซึ่งคล้ายกับ “ลัทธิบูรพาคดีศึกษา” (Orientalism) ตั่งแต่แรกมาจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่การปฏิบัติเป็นแบบ “ลัทธิบูรพาคดีศึกษาแบบสมบูรณาญาสิทธิ์”

 

สังคมประเทศไทย

กำเนิดมโนทัศน์ทันสมัยแต่ไม่พัฒนา

การปฏิรูป “หลักหกประการ” ของคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ความคิดทางการเมืองที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อคนรุ่นใหม่ คือ ความคิดปฏิวัติประเทศอย่างถอนรากถอนโคน ดังที่เกิดขึ้นในประเทศจีนคือการปฏิวัติซินไห่ หรือสาธารณรัฐ ที่นำโดยซุนยัดเซน แต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในสยามได้ถูกขัดขวางและต่อต้านด้วยวิธีการต่างๆ แม้กระทั่ง พยายามยึดอำนาจรัฐคืน เพื่อสกัดกั้นการเปลี่ยนแปลงที่ถูกมองว่ารุนแรงและทำลายผลประโยชน์เดิมของชนชั้นนำ

คณะราษฎร ผู้ก่อการปฏิวัติเมื่อปี 2475ความคิดทางหนึ่งที่ได้ก่อรูป และส่งต่อมายังความคิดปฏิรูปในระยะต่อมา คือ ความคิดว่าด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อความสมบูรณ์มั่งคั่งของคนในชาติ แต่พัฒนาการทางความคิดการเปลี่ยนโครงสร้างสังคมจากหน้ามือเป็นหลังมือ ยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นนำ สังคมไทยในยุคปัจจุบัน และกลุ่มคนกลุ่มต่างๆ อย่างกว้างขวาง ในที่สุดได้ลดระดับลง และพยายามเสนอให้เป็นนโยบายที่ผ่อนปรนมากที่สุด หลังจากการเกิดการต่อต้านสังคมไทยหมายถึง ส่งผลให้ความคิดในการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงของแกนนำคณะราษฎร เปลี่ยนเป็นการรอมชอมกับฝ่ายตรงข้ามมากยิ่งขึ้น

มองอีกแง่หนึ่งโดยพิจารณาบริบททางการเมืองในขณะนั้น อาจกล่าวได้ว่าแนวคิดของปรีดี พนมยงค์ มุ่งสร้างขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีการปฏิบัติมาก่อนแล้วในสังคม ธรรมเนียมปฏิบัติใดที่เคยปฏิบัติมาก่อน แม้ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ควรมารับใช้ต่อไป หากไม่ทำให้หลักการใหม่เสียหาย ทั้งหมดนั้นคือการสร้างความเป็นเอกภาพและความต่อเนื่องระหว่างประชาธิปไตยกับประเพณีธรรมเนียมในการปกครองสยามแต่โบราณ ซึ่งเป็นระเบียบใหม่ภายใต้การเปลี่ยนแปลง

มโนทัศน์การปฏิรูปในยุคพัฒนา บริบททางสังคมและเศรษฐกิจในยุคใกล้กึ่งพุทธกาล ค่อนข้างไปในทางที่มีความแตกต่างหลากหลายมโนทัศน์การปฏิรูปในช่วงยุคพัฒนาเศรษฐกิจ ช่วงปลายสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการรัฐประหารและเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคใหม่ รัฐบาลใหม่ได้เปิดช่องให้แก่การวางแผนระบบระเบียบการปกครองเสียใหม่อย่างที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน ก่อรูปในเชิงความคิด ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งระบบการปกครองและในตัวประชาชนที่ถูกปกครองในเวลาเดียวกัน พร้อมชูนโยบายการสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศใหม่ คือ การให้น้ำหนักและการปฏิบัติไปที่การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นขั้นตอน มีกระบวนการ แนวทาง และเป้าหมายของการพัฒนาอย่างแน่ชัด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มาจากอิทธิพลจากภายนอก นั่นคือสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นแนวคิดที่มีเสน่ห์ในการเปลี่ยนแปลง ต้องการเห็นสังคมที่มีความเจริญก้าวหน้าไปจากสภาวะที่ล้าหลัง

ความคิดที่มองว่าประเทศ สังคมเป็นอะไรที่สามารถ “ผ่าตัด” จัดการกับมันได้เหมือนกับเป็นร่างกายมนุษย์ อันเป็นวิธีคิดแบบนักวิทยาศาสตร์มากกว่าคติทั่วไปของเหล่าชนชั้นนำที่ใช้บารมีในการชักจูงให้ผู้อยู่ใต้การปกครองยอมรับและทําตาม จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดทางการเมืองไทยของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และคณะ การพัฒนาเป็นใจกลางในนโยบายของคณะปฏิวัติ โดยวางอยู่บนฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ จนยุคนี้ได้สมญานามว่า ยุคพัฒนา ซึ่งสฤษดิ์ เข้าใจดีว่าพัฒนาการคือแนวคิดสำคัญของยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ในระดับโลก และเป็นแนวคิดใหม่ที่จะช่วยสร้างความชอบธรรมของรัฐชาติ

รัฐประหารและการเมืองคนดี

มโนทัศน์ต่อมาก็คือความคิดว่าด้วยการเมืองคนดี การขึ้นมาของขบวนการเสื้อเหลือง พลังทางอุดมการณ์ทางการเมืองของกลุ่มนี้ไม่ใช่เพียงแค่ประชาชนลักษณะเด่นของสังคมไทย และประชาธิปไตย แต่คือพระมหากษัตริย์ กับพุทธศาสนา หากน้ำหนักและความหมายโดยนัยทางการเมืองคืออยู่กับพระมหากษัตริย์แต่ฝ่ายเดียว สถานการณ์การประท้วงทวีความรุนแรงและตึงเครียด จึงนำไปสู่การรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 สืบเนื่องมาจากการที่ฝ่ายผู้ประท้วง ได้สร้างเงื่อนไขทำให้การเจรจาตกลงกันกับฝ่ายรัฐบาลเป็นไปไม่ได้ นั่นคือการเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกอย่างไม่มีเงื่อนไข ซึ่งเป็นการเรียกร้องที่เกินกว่าฝ่ายรัฐบาลจะยอมรับได้ เนื่องจากไม่เป็นไปตามกฎหมาย และความถูกต้องตามกติกาของระบบประชาธิปไตย ในกรณีของ กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน นั่นคือฝ่ายประท้วงเคลื่อนไหวท้าทายรัฐบาลอย่างเปิดเผย

สังคมประเทศไทย

สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำม็อบ กปปส.

หลังจากการรัฐประหารปี 2557 หนทางเข้าสู่การปฏิรูปภายใต้รัฐบาล คสช. เราจะเห็นความอีหลักอีเหลื่อของการปฏิรูปอีกครั้งหนึ่ง คือ การปฏิรูปภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนคนไทย 4.0 ซึ่งได้กระชับอำนาจการปกครองมาไว้ในมือ ด้วยการร่วมมือกับนักธุรกิจและอดีตนักการเมือง สังคมไทยในอดีตสามารถสร้างแนวคิดและจุดหมายของการปฏิรูปออกมาได้ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยอาศัยวิธีที่เรียกว่า “ประชารัฐ” คือรัฐกับเอกชนร่วมมือกันในการยกระดับคุณภาพการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ที่เน้นเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นสำคัญปัญหาของสังคมไทย และใช้อำนาจพิเศษในการควบคุมประชาชน ที่น่าสนใจคือวิสัยทัศน์แผนการปฏิรูป มองว่านับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มาประเทศตกอยู่ในภาวะประชาธิปไตยเทียม ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ประชาธิปไตยเทียมก็คือนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเป็นสำคัญ

ประเด็นต่อมา คือ โมเดลประเทศไทย 4.0 ได้นำเสนอภาพการปฏิรูป และหนทางในการไปบรรลุเป้าหมายการออกแบบประเทศไทยใหม่ จุดหมายคือการเปลี่ยนจากประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง และเศรษฐกิจขับเคลือนด้วยนวัตกรรม ส่วนอุดมการณ์ที่มารองรับการปฏิรูป 4.0 เมือเปรียบเทียบยุคก่อนแล้วกลับมีลักษณะถดถอย และอนุรักษนิยม เน้นความมีเอกภาพและศูนย์กลาง ความคิดชาตินิยมที่เน้นหนักไปทางเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ อัตลักษณ์ความเป็นไทยที่ไม่เหมือนใคร และไม่ต้องฟังเสียงจากภายนอก ดังนั้น เมื่อผู้คนออกมาตั้งคำถามต่ออัตลักษณ์ความเป็นไทย และสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้นเท่าไหร่ ฝ่ายรัฐบาลเองก็ยิ่งต้องปราบปราม ใช้เครื่องมือและกลไกมากขึ้นเท่านั้น

โดยสรุปแล้ว จะเห็นความจำเป็นในการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายมหาศาล และเห็นความอิหลักอิเหลื่อไม่ลงรอยในสังคมไทย ลักษณะเด่นของสังคมไทย ของเก่าไม่สามารถทิ้งออกไปได้ ของใหม่ก็ไม่สามารถรับมาได้อย่างเต็มที่ อาทิ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ก็ไม่สามารถปฏิวัติได้อย่างถอน สังคมไทยในยุคปัจจุบันรากถอนโคน กล่าวอย่างถึงที่สุด เส้นทางและความซับซ้อนของแนวคิดการเปลี่ยนแปลงประเทศ จากความต้องการที่จะทันสมัยและเอกราช มาสู่ความหวังว่าจะเห็นประเทศมีความปรองดองบนความหลากหลาย ความคิดเรื่องการปฏิรูปมีมากมายมหาศาลในสังคมไทย เพียงแต่ขาดสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่ต้องการยอมรับความแตกต่างหลากหลายของทุกกลุ่ม และกลไกที่ไม่ถูกควบคุมบงการโดยรัฐในการทำหน้าที่ขับเคลื่อนการปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรม ประเทศของเราจึงอยู่บนหนทาง “ทันสมัยแต่ไม่พัฒนา”สังคมประเทศไทย

ขอบคุณเครดิตจาก

prachatai.com

ข่าวแนะนำ